วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย

คำว่า FTTH ย่อมาจากคำว่าไฟเบอร์ทูเดอะโฮม ( Fiber to the Home) หมายความว่า นำสายใยแก้วนำแสง ส่งตรงถึงบ้านของลูกค้า (ปกติแล้วสายประเภทนี้ มีใช้กันอยู่แล้วภายในองค์กร หรือ ระหว่างองค์กร กับ องค์กร ) ซึ่งคุณภาพ และความเร็วในการ รับ-ส่ง สัญญาณ สูงกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันในระบบเอดีเอสแอล  หลายร้อย-พันเท่า  ซึ่งตัวเลขความเร็วที่ทางผู้ผลิตสายกล่าวถึงนั้น สามารถขึ้นได้สูงเป็นกิกะบิตต่อวินาที (Gbps) กันเลยทีเดียว
FTTH นั้น ความจริงชื่อกลางของมันคือ FTTx คำว่า x หมายถึงสถานที่ ที่สายใยแก้วนั้นไปถึง หากไปถึงบ้าน ก็จะเรียกว่า FTTH (Home) ไปถึงตึกจะเรียกว่า FTTB (Building) ไปถึงสำนักงานจะเรียกว่า  FTTO (Office) เป็นต้น

เทคโนโลยี FTTx ถูกใช้งานในหลากหลายประเทศแล้วไม่ว่าจะเป็น อเมริกา เกาหลี จีน และที่ถูกใช้งานอย่างมากที่สุดคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งราคาเมื่อเทียบกับ ADSL แล้วมีราคาแพงกว่าประมาณ 30% (ในปัจจุบัน) สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีนี้มีเข้ามา  3-4 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างจริงจัง แต่ว่ามีการทดสอบกันอย่างจริงจังในบางพื้นที่แล้ว

แน่นอนว่าการใช้งานระบบ FTTx นั้นเราจะไม่สามารถใช้งานสายโทรศัพท์ปกติเหมือนเอดีเอสแอล ดังนั้นต้องมีการวางระบบ เพื่อสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน โดยเริ่มตั้งปัจจัยพื้นฐานของอุปกรณ์ตั้งแต่ สายนำสัญญาณ รวมไปถึงอุปกรณ์ รับ-ส่ง สัญญาณ นั้นต้องใช้ใหม่ทั้งหมดเช่นกัน
เนื่องจากเรามีเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ที่นับวันมีความเร็วสูงขึ้นทุกวัน ผู้เสพข่าว หรือ ข้อมูล นั้นความคาดหวังย่อมต้องสูงขึ้นไปตามลำดับด้วย โดยจะมานำเสนอเพียงแค่ ข้อความอย่างเดียว (Plain Text) หรือ รูปภาพ  (Graphic) กันเหมือนสมัยก่อนไม่ได้แล้ว ตั้งแต่เรามีเอดีเอสแอล จะเห็นได้ว่า มีเว็บไซต์ผู้ให้บริการด้านการนำเสนอสื่อทางภาพและเสียง ออกมามากมาย อาทิ ยูทูบ (Youtube)
เฟซบุ๊ก (Facebook) และอื่น ๆ ที่ให้ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถผลิตเนื้อหาเองได้ง่าย ๆ การดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในส่วนมุมมองของผู้ผลิตเนื้อหา เราต้องทำเนื้อหาให้ดียิ่งขึ้นไป มีคุณภาพมากขึ้น โดยอาจเน้นไปที่คุณภาพการตัดต่อ ความคมชัดของภาพสูงแบบเฮชดี เพราะเดี๋ยวนี้ลูกค้าไม่ได้เสพเนื้อหาจากเราเพียงฝ่ายเดียวแล้ว ลูกค้ายังสามารถผลิตเนื้อหาเอง และส่งหาซึ่งกันและกันได้อีกด้วย แต่ส่วนมากอัดจากสมาร์ทโฟน ซึ่งการแข่งขันก็ต้องสูงขึ้นไปตามลำดับ

หากมีเทคโนโลยี FTTx แล้ว ไม่ใช่เพียงแค่ดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ 5-10 นาทีบน
ยูทูบอีกแล้ว แต่ต่อจากนี้ไปผู้ผลิตเนื้อหา จะสามารถผลิตรายการโทรทัศน์ผ่านโทรทัศน์จริง ๆ (ไม่ได้ผ่านจอคอมพิวเตอร์) ดูกันออนไลน์ 24 ชั่วโมง โดยไม่มีติดขัด นอกจากนี้ ยังมีระบบทีวีออนดีมานด์ ให้ผู้ชมสามารถเลือกรับรายการโทรทัศน์ที่ตัวเองต้องการดู
ได้เอง

ใครต้องการความรู้เรื่อง FTTx นี้เพิ่มเติม ว่าคืออะไร   แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย ทาง ไทยแวร์ดอตคอม (Thaiware.com) ได้จัดงานเสวนาแนวใหม่ภายใต้ชื่อ IT iTrend by Thaiware ในหัว


เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย

WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่าจะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้ โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้อนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว
โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) ได้พร้อม ๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรืออาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX ช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 30 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่น ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

จากจุดเด่นในทำงานของ WiMAX ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพื่อความสะดวกสบายและประหยัดสำหรับการขายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วได้ นอกจากนั้น WiMAX หรือบรอดแบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (Video) หรือการใช้งานเสียง (Voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเก่า (Low Lantency Network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาติ (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่าง ๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (Encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMAX ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของเทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่

สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้

IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-16 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)

IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา (NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวาง ด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 30 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที 1 (T1-Type) กว่า 60 ราย และการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น